วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาวะผู้นำแบบติดดิน 7

       ผู้นำติดดินในแบบของกัปตันเรือ D.Michael Abrashoff  ได้รับความสนใจติดตามจากท่านผู้อ่านหลายท่านเลยค่ะ เป็นอะไรที่ทำให้ไอหมอกมีกำลังใจอยากที่จะหาเรื่องราวดีดีมาแบ่งปันให้ทุกท่านได้อ่านกันอย่างต่อเนื่อง ^^ เอาล่ะ วันนี้มาพูดถึงหลักการข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งที่ถือเป็นการบริหารแบบ 2 Ways คือต้องได้รับการตอบสนอง และได้รับรู้ถึงความรัก ความทุ่มเทจากลูกน้องด้วยอีกทางหนึ่ง การบริหารงานจึงจะประสบผลสำเร็จอบ่างเต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ


** ลูกเรือที่ประสบความสำเร็จอุทิศตัวเองทำงานอย่างเต็มที่ **

       ในการประชุมผู้บังคับการเรือเมื่อไม่นานมานี้ คนส่วนมากบอกว่าการที่เราให้ความสนใจกับคุณภาพชีวิตบนเรือจะทำให้มีผลเสียหายต่อพันธกิจของเรา ผมคิดว่ามันเป็นความคิดที่ไม่เข้าท่า เราปฏิบัติต่อลูกเรือเหมือนกับว่าเขาไม่มีคุณค่าอะไร กองทัพเรือขาดคนที่ต้องการอยู่ 7,000 คน จากเป้าหมายจำนวน 52,000 คนในปี 1998 และในปี 1999 เราจะขาดคนประมาณ 12,000 คน ในทุกๆหน่วยของกองทัพ ทหารประมาณ 1 ใน 3 ไม่อยู่ครบเวลาเกณฑ์ เราต้องหาเหตุผลที่ดีให้เขามาสมัครและอยู่กับเรา ผู้นำมีหน้าที่ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้คนสามารถทำงานได้ดี และอยากทำงานให้ได้ดี ผมสังเกตดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับลูกเรืออายุ 18-19 ปีของผมเมื่อเขามารายงานตัว เขามาถึงเย็นวันศุกร์จากศูนย์ปฏิบัติการ เขารู้สึกหวาดกลัวและขาดเพื่อน เขาเก็บข้าวของของเขาและเริ่มต้นหลงทางใน San Diego เราเปลี่ยนมันเสียใหม่ เราวางแผนต้อนรับพวกเขาเมื่อพวกเขามาถึง เขาเจอว่าที่พักถูกจัดเตรียมไว้ในเขา มีคนคอยเป็นพี่เลี้ยงและคอยพาเขาไปรู้จักสถานที่ต่างๆ เขาสามารถโทรกลับบ้านได้โดยผมเป็นคนจ่ายเงิน เพื่อที่จะได้บอกกับคนทางบ้านว่าเขามาถึงเรียบร้อยแล้ว

       ปัญหาอีกอย่างที่เราเจอคือ เรื่องของการพักผ่อนหย่อนใจของลูกเรือ เมื่อคราวที่เราไปเทียบท่าที่ดูไบ ซึ่งเป็นท่าที่เปิดเสรีกว่าท่าอื่นๆ ในอ่าวเปอร์เซีย ลูกเรือคนหนึ่งของผมบอกกับผมว่าพวกเขาหงุดหงิดมากกับคนขับรถบัสซึ่งไม่รู้ภาษาอังกฤษ และไม่ยอมออกนอกเส้นทางเลย ผมสั่งให้เช่ารถตู้ 2-3 คันทันที แล้วแบ่งลูกเรือเป็นกลุ่มย่อยๆ และให้ลูกเรืออาวุโสเป็นผู้ดูแลลูกเรืออื่นๆในรถแต่ละคัน
สิ่งที่ผมทำนี้มิใช่ว่าจะถูกต้องตามกฎระเบียบจริงๆ แต่มันมีเหตุผลจนกลายเป็นสิ่งที่เรือทุกลำในอ่าวทำตาม อีกเรื่องที่สำคัญกว่าก็คือ ปัญหาที่พวกเขาต้องจากครอบครัว เรือเกือบทุกลำจะมีรายงานเรื่องปัญหาครอบครัวระหว่างที่ออกทะเลเสมอ และปัญหาส่วนมากมาจากการขาดการติดต่อสื่อสารกัน ผมเลยสร้างระบบจัดการส่งข้อความผ่านดาวเทียม ซึ่งลูกเรือของผมสามารถใช้มันได้ทุกวัน ด้วยวิธีนี้พวกเขาสามารถติดต่อกับครอบครัว มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีความสงบในใจมากขึ้น

       เมื่อเรือเทียบท่า ลูกเรือจะหงุดหงิดใจจากการที่ต้องอยู่เวรยามบนเรือ เราแบ่งลูกเรืออกเป็น 4 กอง เขาจะหมุนเวียนกันอยู่เวรบนเรือตลอด 24 ชม. และมีโอกาสว่างช่วงสุดสัปดาห์แค่เดือนละ 1 ครั้ง ผมทำระบบการแบ่งเป็น 8 กองมาใช้ ซึ่งช่วยให้เขาสามารถหยุดในช่วงสุดสัปดาห์ได้เดือนละ 2 ครั้ง ผมยังฝึกให้ลูกเรือทำงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เขาสามารถทดแทนกันได้ ระบบทำงานดีมากจนเรืออีกหลายๆ ลำนำไปใช้ต่อบนเรือของพวกเขา


       การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ไม่มีอะไรมากไปกว่าการให้ความสนใจว่าอะไรคือสาเหตุของความไม่พอใจของลูกเรือ คุณต้องพยายามกำจัดสิ่งเหล่านี้พร้อมๆกับการเพิ่มเติมสิ่งที่เขาพอใจ อาจเป็นสิ่งง่ายๆ เช่น การเข้าใจว่าคนส่วนมากชอบเสียงเพลง และจัดให้มีระบบเสียงที่ดี หรือการมีเครื่องคาราโอเกะ คุณภาพชีวิตยังหมายถึงการปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเคารพและให้เกียรติ เรือ Benfold มีความพร้อมที่จะรับกะลาสีเรือหญิงได้ เรารู้กันวาในกองทัพมีการละเมิดสิทธิสตรีและความลำเอียงต่อผู้หญิง แต่เมื่อเราสำรวจผลเรื่องนี้ เราแปลกใจกับมันมาก มีปัญหาเรื่องสิทธิสตรีและการเหยียดสีผิวเพียงแค่ 3% บนเรือของเรา

       ผลงานพวกนี้ไม่ได้เกิดมาจากการอบรมสั่งสอนของผมต่อพวกเขา แต่มันมาจากการที่ผมคุยถึงการสร้างสังคมที่ดีและการทำงานเป็นทีมในเรือของเรา ด้วยความห่วงใยเท่าเทียมกับที่ผมห่วงการดูแลยุทโธปกรณ์บนเรือของเรา

ขอบคุณความรู้และแนวคิดที่ดีจาก .. PacRim Group และเครือธนาคารทหารไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น