วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

หัวหน้าที่ลูกน้องยอมรับ

       สวัสดีเพื่อนๆ อีกครั้งเช่นเคย วันนี้ไอหมอกขอต้อนรับเพื่อนๆในเดือนมีนาคม กันด้วยบทความดีดีที่ได้ไปอ่านมาจากธนาคารซอฟท์แวร์ ร่วมแรงและแบ่งปัน มาเพื่อแชร์ให้กับเพื่อนๆได้อ่าน และรู้ถึงแนวคิดของผู้เขียนกันว่า "อะไรที่ทำให้ลูกน้อง ยอมรับในตัวเรา?" คำถามนี้หลายๆคนที่อยู่ในตำแหน่งหัวหน้างาน ผู้บริหาร หรือไม่เว้นเจ้าของกิจการ ต่างก็คิดหาทางออกให้เป็นหัวหน้าที่ลูกน้องรัก บางทีเราก็ดูว่ามันช่างยากเย็นเหลือเกิน แต่ใครจะรู้ว่าหลายๆคนได้ประสบความสำหรับในการเป็นหัวหน้าที่ลูกน้องรักไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราลองมาดูกันว่า วิธีไหนที่หัวหน้าอย่างเราๆ จะได้ใจจากลูกน้องกันบ้าง

       เรามาเริ่มกันที่ "บันได 4 ขั้น เพื่อก้าวเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องยอมรับ"   เป็นประเด็นแรกกันก่อนเลยนะคะ

1. เป็นหัวหน้า ต้องขยันทุ่มเท เรียนรู้งาน ใผ่รู้อยู่เสมอ
       เพื่อนๆที่เป็นหัวหน้างานคงไม่อยากตกอยู่ในสถานการณ์ที่ว่า ลูกน้องมาปรึกษาและหาช่องทางเพื่อแก้ไขปัญหา แต่หัวหน้าอย่างเราๆ ไม่สามารถให้คำปรึกษาได้ เอาละสิคะ ประเด็นนี้ขึ้นมาปุ๊กไอหมอกรู้สึกถึง ความรู้สึกแย่ข้างใจจิตใจของเราขึ้นมาได้ทันที ทำไมเราเป็นหัวหน้าที่ไม่ได้เรื่องแบบนี้ แค่นี้ก็ให้คำปรึกษาและชี้แนะลูกน้องไม่ได้ เมื่อเกิดความรู้สึกแบบนี้ขึ้นมาแล้ว แน่นอนหัวหน้าอย่างเราๆ ไม่อยู่นิ่งเฉยเป็นแน่ การเรียนรู้เท่านั้นที่จะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้น การเป็นหัวหน้าต้องทุ่มเท ขยันศึกษาหาความรู้ เพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์ให้กับลูกน้องได้ หากเราคิดในทางกลับกัน เราก็คงไม่อยากได้หัวหน้าที่ไม่สามารถช่วยเราคิดอะไรได้เลย ถูกต้องมั้ยคะ

2. รู้จักถ่ายทอดความรู้ สอนงานเป็น ให้คนอื่นทำงานได้
       ประเด็นนี้ไอหมอกคิดว่าเป็นข้อสำคัญของการเป็นหัวหน้าเลยค่ะ ในการที่เรามีความรู้ความสามารถแต่เก็บอมพะนำไว้คนเดียว หวงความรู้ไม่สอนใครราวกับเป็นงูจงอางหวงไข่นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า คุณยังไม่มีสัญชาตญาณความเป็นหัวหน้าที่ดีได้นั่นเอง การเป็นหัวหน้าคนต้องรู้จักสอน สอนให้เป็น สอนให้เก่ง เพื่อให้ลูกน้องของเรา เก่งขึ้นไปเรื่อยๆและเก่งมากกว่าเราได้ยิ่งดี เมื่อเราสอนแต่ไม่ไว้วางใจให้ลูกน้องได้ทำงานจริงๆเองบ้าง ทุกอย่างที่เราสอนมาไม่มีประโยชน์หรอกค่ะ เสียเวลาเปล่าๆ การให้ลูกน้องทำหน้าที่สำคัญแทนเรา เป็นการแสดงให้เห็นว่า เราไว้วางใจเค้ามากน้อยแค่ไหน นั่นแหละค่ะลูกน้องของเราจะกลายเป็นคนที่รักในการทำงานอย่างเต็มที่ และสามารถทำงานแทนเราได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน

3. รวบรวมข้อมูล คิดวิเคราะห์ ตัดสินใจแก้ไขปัญหา
       การเป็นหัวหน้างานที่ดีต้องสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วบนพื้นฐานของความถูกต้อง ซึ่งการที่เราจะแก้ไขปัญหาสักอย่างหนึ่งนั้น สิ่งสำคัญที่เราพึงจะต้องมีนั่นคือ ข้อมูลของสาเหตุตัวปัญหานั้นๆ หากหัวหน้างานไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ปัญหานั้นเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุใด และแก้ไขปัญหาได้ด้วยวิธีไหน แสดงว่าหัวหน้าคนนั้นๆ ไม่ได้มีข้อมูลที่สำคัญอยู่ภายในแนวคิดเอาซะเลย กังนั้นหัวหน้าต้องเปิดใจกล้างเพือ่รับเอาความรู้ ข้อมูลสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการบริหารงานได้อย่างคล่องแคล่ว และแก้ปัญหาได้ตรงจุดอย่างน่าภาคภูมิใจในสายตาของลูกค้า

4. วางแผนบริหารงาน บริหารคน อย่างเป็นธรรม และเป็นตัวอย่างที่ดี
       ข้อนี้มีคำอธบายอยู่ในประโยคของมันอย่างดีเยี่ยมอยู่แล้ว หัวหน้าทุกคนต้องมีความคิดเป็นผู้บริหาร บริหารงานและบริหารคนให้สามารถเดินต่อไปด้วยกันอย่างมีคุณภาพ ใช้หลักธรรมเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการปริหาร ไม่ใช้ความลำเอียงในการตัดสินปัญหา และที่สำคัญเราต้องการลูกน้องที่น่ารักแบบไหน ให้เราเป็นหัวหน้าที่น่ารักแบบนั้น เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้องสืบต่อไป

       เรามักพบว่า หัวหน้างานหรือผู้จัดการที่ไม่ประสบความสำเร็จ มักเกิดจากคุณลักษณะส่วนตัวและพฤติกรรมการกระทำที่ไม่เหมาะสมซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวนำมาเกี่ยวข้องกับงาน ทำให้ลูกน้องประเมินว่าไม่เหมาะสม ทำให้ขาดความเชื่อถือไว้วางใจ ไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้น พฤติกรรมการกระทำต่างๆ ที่เป็นตัวอย่างไม่ดีอาจเป็นสาเหตุให้ตำแหน่งหัวหน้างานที่มีคุณภาพนั้นหลุดมือของคุณไปอย่างง่ายดาย เพียงเพราะหัวหน้าไม่เป็นที่ยอมรับจากลูกน้อง และเมื่อหัวหน้าไม่มีลูกน้อง แล้วจะเป็นหัวหน้าที่สมบูรณ์แบบได้อย่างไร?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น