วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การบริหารความกดดันทางธุรกิจ

       ตอนที่แล้ว "เปลี่ยนมุมมองธุรกิจ สไตล์ Gen Y" เราได้พูดถึง ความคิดของ Peter Sheahan น่าสนใจเพราะเป็นคนหนุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในการคิด การพูด และการเขียนจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “A next generation thinker.” นักคิดของคนยุคต่อไป วันนี้เรามาดูกันต่อว่า เมื่อเกิดความกดดันขึ้นกับธุรกิจของเรา เราจะทำยังไงต่อไปดี



       แล้วเราจะต้องทำอย่างไร เมื่อมีความกดดันเหล่านี้เกิดขึ้นกับธุรกิจของเรา Peter Sheahan แนะนำว่าควรทำสิ่งต่อไปนี้

       •      สำรวจด้วยตนเองว่ามีสิ่งใดบ้างที่เป็นความกดดันต่อตัวคุณและธุรกิจของคุณ เกี่ยวกับเรื่องเวลาและสถานที่ (Time and space) ให้เขียนรายการสิ่งที่เป็นความกดดันออกมาเป็นข้อๆ เพื่อนำไปศึกษาหาแนวทางเปลี่ยนแปลงแก้ไขต่อไป

       •      ให้คิดถึงความซับซ้อน (Complexity) ที่โยงใยและมีผลกระทบมาถึงตัวคุณและธุรกิจของคุณ แต่สิ่งสำคัญที่คุณต้องพิจารณาคือ ความซับซ้อนที่กำลังเกิดขึ้นจะมีผลกระทบอะไรต่อลูกค้าของคุณบ้าง และคุณมียุทธศาสตร์อะไรในการลดความซับซ้อนนั้นลงในกระบวนการทำธุรกิจของคุณ ทำอย่างไรให้สิ่งต่างๆในธุรกิจของคุณมีความง่าย(Simplifying)มากขึ้น

       •      จัดทีมงานรับผิดชอบในการศึกษาเพื่อขจัดความล่าช้าในขั้นตอนต่างๆของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจของคุณ และขั้นตอนการติดต่อสื่อสารภายนอกองค์กรกับลูกค้าและตลาดธุรกิจของคุณ

       •      ถามตนเองว่าเราจะเพิ่มมูลค่าอะไรให้ลูกค้าได้มากขึ้นในอนาคตอันใกล้ ทั้งในรูปสินค้าและบริการ

       นำเอาสิ่งที่เราคิดสำรวจได้ข้างต้น เข้าสู่การระดมสมองของคณะผู้บริหารเพื่อหาหนทางปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำธุรกิจเพื่อตอบสนองความกดดันที่เกิดขึ้นต่อธุรกิจของเรา

       การทำธุรกิจในทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะธุรกิจเท่านั้น แต่ธุรกิจเป็นเรื่องส่วนบุคคลด้วย แนวคิดการทำธุรกิจแบบเดิมคือ ธุรกิจคือธุรกิจ (Business is business) คงไม่เพียงพอแล้วครับ ธุรกิจในยุคนี้ต้องรวมเรื่องส่วนบุคคล(Business is personal) เข้ามาด้วย เพราะผู้บริโภค หรือ ผู้ซื้อในปัจจุบัน ไม่ได้ต้องการซื้อเฉพาะสินค้า หรือบริการที่ขายเท่านั้น แต่สิ่งที่เขาต้องการมากกว่าสินค้าหรือบริการที่เขาซื้อคือ เขาต้องการทำธุรกิจที่เขาพึงพอใจจากคนที่เขารู้จัก (People they know) คนที่เขาชอบ (People they like) และคนที่เขาไว้ใจ (People they trust) เพราะปัจจุบันช่องทางการทำให้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ทั้งจากการเผยแพร่ให้ความรู้ของหน่วยงานทางราชการที่กฎหมายกำหนดให้กระทำ หรือจากคู่แข่งขันของเราที่เต็มใจกระทำให้ข้อมูลเพื่อแนะนำสินค้าและบริการของเขา ซึ่งผู้บริโภคและผู้ซื้อสามารถนำมาเปรียบเทียบกับสินค้าและบริการของเราได้ และจากผู้บริโภคและผู้ซื้อเองที่ตั้งใจกระทำ โดยเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลสินค้าและบริการของเราให้แก่คนอื่นๆทราบ ดังนั้นกระบวนทัศน์หรือมุมมองในการมองผู้ซื้อหรือผู้บริโภคจึงต้องเปลี่ยนไป เหมือนดังคำกล่าวที่ว่า “People don’t buy products or services, they buy what those products or services do.” คนไม่ได้ซื้อสินค้าหรือบริการ คนซื้อสิ่งที่สินค้าหรือบริการทำให้เขา

       Flint McLaughlin กล่าวว่า “People don’t want to be marketed to, they want to be communicated with” คนไม่อยากถูกทำการตลาดกับ แต่อยากถูกติดต่อสื่อสารด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น